วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

แรด

  เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน
   แรดมีรูปร่างโดยทั่วไปคือ ตาเล็ก ปากงุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีหนังที่หนามาก ในบางชนิดอาจเห็นเป็นชั้นคล้ายเกราะ และมีลักษณะเด่นที่สุด คือ เขาบริเวณสันจมูกที่งอกแหลมยื่นยาวอกมา เรียกกันว่า "นอ" ซึ่งใช้เป็นอาวุธในการพุ่งชนป้องกันตัว ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นอของแรดนับว่าเป็นเขา (horn) อย่างหนึ่ง แต่เป็นเขาที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนกลาง นอแรดทำมาจากเคราติน (keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของขน ผม และเล็บ โดยนอแรดไม่ได้เกิดจากขนที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นตามที่เข้าใจผิดกัน นอแรดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร แรดโดยทั่วไปจะมีนอ 2 นอ แต่บางชนิดจะมีเพียงนอเดียว
    แรดเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงชอบนอนแช่โคลนหรือแช่ปลักเหมือนหมูหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพื่อดับความร้อนและไล่แมลงที่มารบกวน หากินในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อนซึ่งอาจนอนหลับในท่ายืนก็ได้
    แรดเป็นสัตว์ที่มีสายตาแย่มาก แต่มีประสาทรับกลิ่นและประสาทหูดีเยี่ยม จึงเป็นสัตว์ที่มีนิสัยฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย ประกอบกับขนาดลำตัวที่ใหญ่จึงมักไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติ ในปัจจุบันมีแรดหลงเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา 2 ชนิด ในเอเชีย 3 ชนิด และทุกชนิดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั้งสิ้น ศัตรูของแรดเพียงอย่างเดียว คือ มนุษย์ ที่ล่าแรดเพื่อเอานอเนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะยาจีนเชื่อว่าเป็นยาเย็น สามารถดับพิษไข้ได้
   

ข้าวหอมกุหลาบแดง

ชื่อพันธุ์ - ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice)

ชนิด  - ข้าวเจ้า

คู่ผสม - KDML105R-PRE-5*4 / ไออาร์64

ประวัติพันธุ์ - พ.ศ. 2529 ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้รับรวงข้าวแดงหอมจำนวนหนึ่งจากสถานีทดลอง                                     ข้าวสุรินทร์ จึงทำการปลูกคัดเลือกและแยกสายพันธุ์ชนิด ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า                                     ออกจากกัน
                  - พ.ศ. 2531 นายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำข้าว                                     แดงหอมสายพันธุ์ KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 และผสมย้อน                                       กลับ (Back Cross) ไปหาพันธุ์แม่ 3 ครั้ง
                  - พ.ศ. 2533 ได้ให้รหัสเป็นคู่ผสมของศูนย์วิจัยข้าวแพร่เป็น PRE90020
                  - พ.ศ. 2534 – 2537 นำสายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก                                     ได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 10 สายพันธุ์
                  - พ.ศ. 2537 พบว่า สายพันธุ์ PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าว                                   ต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และมีลักษณะต่างๆตามต้องการ
                  - พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็น พันธุ์ข้าว                                       ทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมกุหลาบแดง

ลักษณะประจำพันธุ์
      -  เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร
        -  ไม่ไวต่อช่วงแสง
        -  อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 123 วัน
        -  ลำต้นแข็ง กอตั้งตรง แตกกอดี
        -  รวงแน่นปานกลาง
        -  ใบมีสีเขียว แก่ช้า ใบธงตั้งตรง
        - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
        -  ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
        -  ท้องไข่น้อย
        - เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.0 x 7.3 x 1.6 มิลลิเมตร
        -  ปริมาณอมิโลส 13.9 %

ผลผลิต - ประมาณ 750 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น - เป็นข้าวที่ให้ข้าวกล้องมีเยื่อ                                    หุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม
                   - ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่น                                   หอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง - ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรค                                  ขอบใบแห้ง
                  - ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสี                                      น้ำตาล

พื้นที่แนะนำ - ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพื่อ                                   ป้องกันปัญหาเมล็ดปะปน                                                                                                                           กับข้าวขาว

สุพรรณบุรี ๑

ข้าวสายพันธุ์ สุพรรณบุรี 1 ข้าวไทยที่ไม่กลัวความหนาว เป็นข้าวต้านเพลี้ย ที่ดีอีกชนิดหนึ่ง อันที่จริงแล้วข้าวไทยที่ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดีนั้นก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 3 กข31 (ปทุมธานี 80) และ กข39 เพราะเมื่อกระทบกับอากาศที่เย็นในช่วงข้าวกำลังตั้งท้องหรือออกดอกแล้ว ผลผลิตที่ได้จะไม่เสียหายมาก เพียงแต่คอรวง และความยาวเมล็ดข้าวจะหดสั้นลงไปเท่านั้น ลักษณะเด่นคือเป็นข้าวเจ้านาสวน สูงประมาณ 125 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน นั่นหมายถึงหากปลูกในเดือนพฤศจิกายน ก็จะเก็บเกี่ยวได้ในราวเดือน มกราคา-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในฤดูหนาวพอดี (ปกติจะหนาวตั้งแต่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ด้วยลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ทำให้ต้านทานลมในช่วงฤดูหนาวได้ดี ใบมีสีเขียวเข้ม มีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น