วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

แรด

  เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน
   แรดมีรูปร่างโดยทั่วไปคือ ตาเล็ก ปากงุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีหนังที่หนามาก ในบางชนิดอาจเห็นเป็นชั้นคล้ายเกราะ และมีลักษณะเด่นที่สุด คือ เขาบริเวณสันจมูกที่งอกแหลมยื่นยาวอกมา เรียกกันว่า "นอ" ซึ่งใช้เป็นอาวุธในการพุ่งชนป้องกันตัว ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นอของแรดนับว่าเป็นเขา (horn) อย่างหนึ่ง แต่เป็นเขาที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนกลาง นอแรดทำมาจากเคราติน (keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของขน ผม และเล็บ โดยนอแรดไม่ได้เกิดจากขนที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นตามที่เข้าใจผิดกัน นอแรดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร แรดโดยทั่วไปจะมีนอ 2 นอ แต่บางชนิดจะมีเพียงนอเดียว
    แรดเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงชอบนอนแช่โคลนหรือแช่ปลักเหมือนหมูหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพื่อดับความร้อนและไล่แมลงที่มารบกวน หากินในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อนซึ่งอาจนอนหลับในท่ายืนก็ได้
    แรดเป็นสัตว์ที่มีสายตาแย่มาก แต่มีประสาทรับกลิ่นและประสาทหูดีเยี่ยม จึงเป็นสัตว์ที่มีนิสัยฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย ประกอบกับขนาดลำตัวที่ใหญ่จึงมักไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติ ในปัจจุบันมีแรดหลงเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา 2 ชนิด ในเอเชีย 3 ชนิด และทุกชนิดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั้งสิ้น ศัตรูของแรดเพียงอย่างเดียว คือ มนุษย์ ที่ล่าแรดเพื่อเอานอเนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะยาจีนเชื่อว่าเป็นยาเย็น สามารถดับพิษไข้ได้
   

ข้าวหอมกุหลาบแดง

ชื่อพันธุ์ - ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice)

ชนิด  - ข้าวเจ้า

คู่ผสม - KDML105R-PRE-5*4 / ไออาร์64

ประวัติพันธุ์ - พ.ศ. 2529 ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้รับรวงข้าวแดงหอมจำนวนหนึ่งจากสถานีทดลอง                                     ข้าวสุรินทร์ จึงทำการปลูกคัดเลือกและแยกสายพันธุ์ชนิด ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า                                     ออกจากกัน
                  - พ.ศ. 2531 นายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำข้าว                                     แดงหอมสายพันธุ์ KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 และผสมย้อน                                       กลับ (Back Cross) ไปหาพันธุ์แม่ 3 ครั้ง
                  - พ.ศ. 2533 ได้ให้รหัสเป็นคู่ผสมของศูนย์วิจัยข้าวแพร่เป็น PRE90020
                  - พ.ศ. 2534 – 2537 นำสายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก                                     ได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 10 สายพันธุ์
                  - พ.ศ. 2537 พบว่า สายพันธุ์ PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าว                                   ต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และมีลักษณะต่างๆตามต้องการ
                  - พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็น พันธุ์ข้าว                                       ทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมกุหลาบแดง

ลักษณะประจำพันธุ์
      -  เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร
        -  ไม่ไวต่อช่วงแสง
        -  อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 123 วัน
        -  ลำต้นแข็ง กอตั้งตรง แตกกอดี
        -  รวงแน่นปานกลาง
        -  ใบมีสีเขียว แก่ช้า ใบธงตั้งตรง
        - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
        -  ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
        -  ท้องไข่น้อย
        - เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.0 x 7.3 x 1.6 มิลลิเมตร
        -  ปริมาณอมิโลส 13.9 %

ผลผลิต - ประมาณ 750 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น - เป็นข้าวที่ให้ข้าวกล้องมีเยื่อ                                    หุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม
                   - ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่น                                   หอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง - ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรค                                  ขอบใบแห้ง
                  - ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสี                                      น้ำตาล

พื้นที่แนะนำ - ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพื่อ                                   ป้องกันปัญหาเมล็ดปะปน                                                                                                                           กับข้าวขาว

สุพรรณบุรี ๑

ข้าวสายพันธุ์ สุพรรณบุรี 1 ข้าวไทยที่ไม่กลัวความหนาว เป็นข้าวต้านเพลี้ย ที่ดีอีกชนิดหนึ่ง อันที่จริงแล้วข้าวไทยที่ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดีนั้นก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 3 กข31 (ปทุมธานี 80) และ กข39 เพราะเมื่อกระทบกับอากาศที่เย็นในช่วงข้าวกำลังตั้งท้องหรือออกดอกแล้ว ผลผลิตที่ได้จะไม่เสียหายมาก เพียงแต่คอรวง และความยาวเมล็ดข้าวจะหดสั้นลงไปเท่านั้น ลักษณะเด่นคือเป็นข้าวเจ้านาสวน สูงประมาณ 125 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน นั่นหมายถึงหากปลูกในเดือนพฤศจิกายน ก็จะเก็บเกี่ยวได้ในราวเดือน มกราคา-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในฤดูหนาวพอดี (ปกติจะหนาวตั้งแต่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ด้วยลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ทำให้ต้านทานลมในช่วงฤดูหนาวได้ดี ใบมีสีเขียวเข้ม มีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ขาวโป่งไคร้

    เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเหนียว สูงประมาณ 142 เซนติเมตร  อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ปลายเดือนตุลาคม   ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงกว้างและตก รวงยาว ระแง้ถี่ 
เมล็ดมีรูปร่างป้อม และร่วงปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง  ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ สภาพที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 800 – 1,250 เมตร

ข้าวหอมกุหลาบแดง

   เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 123 วัน  
ลำต้นแข็ง กอตั้งตรง แตกกอดี รวงแน่นปานกลาง ใบมีสีเขียว แก่ช้า ใบธงตั้งตรง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์  ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพื่อป้องกันปัญหาเมล็ดปะปนกับข้าวขาว

ข้าวดอกพะยอม

ข้าวไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุประมาณ 145 -150 วัน ปลูกต้นเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคมปลูกปลายเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวปลายเดือนมกราคม ลำต้นสีเขียวเจริญเติบโตเต็มที่สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด น้ำหนัก 100 เมล็ด 2.58 กรัม ข้าวกล้องยาว 7.3 มิลลิเมตร รูปร่างยาวเรียว ลักษณะข้าวสุกนุ่ม และมีกลิ่นหอม  คอยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี  คุณภาพหุงต้มและรสชาติดี ต้านทานโรคไหม้โรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคใบขีดสีน้ำตาล